วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ไอเดียเด็ด : สุขากระดาษช่วยผู้ประสบภัย

ถุงยังชีพออกไปแล้วกว่า 10,000 ถุง พรุ่งนี้พนักงาน SCG รวมพลังแพ็ค "สุขากระดาษ" พร้อมถุงดำและทิชชู เพื่อบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย เป้าหมาย 4000 ชุด ขอเชิญร่วมบริจาคได้ที่มูลนิธิซิเมนต์ไทย 025865506

บทความ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ : คิดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสรรค์สร้างธุรกิจ

                จากการที่สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยในการจัดทำโครงการอบรมผู้บริหารด้าน เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รุ่นที่ 2 (EXCET II) ซึ่งเป็นโครงการที่จัดเพื่ออบรมผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐและภาคเอกชน เมื่อเร็วๆ นี้ “กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด ได้ถ่ายทอดหลักคิดและประสบการณ์การบริหารองค์กรและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้ แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถนำไปเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ และพัฒนาธุรกิจของตนเองได้เช่นกัน
      
       ๐ เริ่มจากจุดยืนและศรัทธา
      
       กอบกาญจน์ เล่าถึงเรื่องราว 41 ปีของโตชิบาในประเทศไทย ซึ่งมีพัฒนาการอย่างไม่หยุดยั้งว่า จุดเริ่มต้นของการที่จะเป็นอะไรก็ตาม เราต้องมี“จุดยืน” มีตัวตน มีสิ่งที่ต้องการ สำหรับจุดยืนของโตชิบา คือ “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ซึ่งไม่ใช่สโลแกนเพื่อขายของ แต่อะไรตามที่เราทำต้องนำสิ่งที่ดีมาให้กับชีวิตจริงๆ แต่โตชิบาที่ญี่ปุ่นใช้คำว่า “Committed to People” ที่สำคัญอีกอย่างคือ เราต้องมี “ศรัทธา”ในธุรกิจที่ทำอยู่ มีศรัทธาในตัวเอง และกับผู้ร่วมงาน ไม่เช่นนั้น นวัตกรรมจะไม่เกิด นวัตกรรมกรรมจะต้องมาจากคน ในการพัฒนา พนักงานและดีลเลอร์ต้องไปพร้อมกัน ต้องทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้นวัตกรรมไปถึงผู้บริโภค
      
       แต่ปัจจุบันผู้ประกอบการหลายคนทิ้งธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าไปแล้ว เพราะสู้จีนและเวียดนามไม่ได้ เมื่อสู้กันด้วยต้นทุน เราตายไปตั้งนานแล้ว แต่ถ้าเรามีศรัทธาว่าธุรกิจนี้ไปได้ มันก็จะไปได้ แต่จะต้องเข้าใจและก้าวไปข้างหน้าผู้บริโภค จึงจะต้องอยู่รอดและอยู่อย่างผู้ชนะ ใครจะว่าอย่างไร ต้องอย่าเชื่อทั้งหมด เราต้องเข้าไปเห็น เข้าไปดู ไปเข้าใจ ไปสัมผัส ซึ่งการที่เราจะนำผู้บริโภคได้ เราต้องไม่เชื่อผู้บริโภคทั้งหมด แต่ต้องเข้าไปนั่งในใจของเขา และคิดไปข้างหน้าแทนเขาเลย ดูเพียงตัวเลขยอดขายอย่างเดียวไม่ได้อีกแล้ว
      
       ผู้บริหารของบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อชาร์ปบอกว่า สมัยนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคขึ้นอยู่กับอายุ ไม่ใช่เชื้อชาติ เพราะอินเทอร์เน็ตทำให้ทุกประเทศในโลกติดกัน คนเชื้อชาติต่างๆ จึงไม่ค่อยต่างกัน อยู่ที่ว่าเขาอายุเท่าไร คนอายุ 20 ปี 30 ปี 40 ปี คิดแตกต่างกันอย่างไร สิ่งสำคัญคือพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเสมอ แม้ว่า “Voice of Customer” เป็นสิ่งสำคัญมาก แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือเราต้อง “Lead Customer” ไม่เช่นนั้นเราก็เป็นแค่ผู้ตาม เราต้องรู้จักลูกค้าและนำลูกค้าเลย
      
       สินค้าหลายอย่างที่เป็นสินค้านวัตกรรมไม่ได้มาจากผู้บริโภค เพราะบางทีเขาไม่เคยเห็น ไม่รู้ ก็ตอบไปถึงตรงนั้นไม่ได้ เราต้องเข้าไปเข้าใจเขาและคิดต่อว่าถ้าจะอยู่หน้าเขา 1 ก้าว จะต้องทำอย่างไร? ยกตัวอย่างรูปแบบร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าเหมือนกันหมดแล้ว ไม่ว่าในกัมพูชา หรือในไทย ที่กรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ มีการขายสินค้าคล้ายกัน จึงบ่งบอกว่าความต้องการของผู้บริโภคโดยทั่วไปเหมือนกันหมดแล้ว ดังนั้น เราต้องสร้าง “Value Creation” และต้องมีความแตกต่าง
      
       ๐ ไม่ใช่แค่เสียงจากลูกค้า
      
       ในการที่จะทำสินค้าตัวหนึ่ง ต้องมีการจัดการเรื่องแนวความคิด กระบวนการผลิต และการออกแบผลิตภัณฑ์ สำหรับตู้เย็นโตชิบา รุ่น“Curve” เป็นตัวอย่างที่ดี ทำให้เราต้องเปลี่ยนหมดจนสร้างผลิตภัณฑ์ตัวนี้ขึ้นมาได้ เพราะทุกอย่างต้องไปด้วยกัน เนื่องจากตลาดตู้เย็นหนึ่งประตูลดลงไปเรื่อยๆ ถึงแม้โตชิบาจะเป็นแบรนด์อันดับ 1 หรือ2 ก็ตาม แต่ราคาของตู้เย็นหนึ่งประตูลดมากจนแทบจะเท่ากับตู้เย็นสองประตู ผู้บริโภคจึงคิดว่าซื้อสองประตูคุ้มกว่า สู้กันไปก็ได้กำไรต่ำ จึงมีคำถามว่าจะหยุดผลิตดีหรือไม่ ?
      
       แต่เพราะมีศรัทธา มีความเชื่อ จึงคิดว่าน่าจะมีโอกาสขายตู้เย็นหนึ่งประตูต่อไป โดยตัดสินใจทำโครงการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อผลิตตู้เย็นหนึ่งประตูเองทั้งร้อยเปอร์เซนต์ ซึ่งโดยนโยบายของโตชิบาทำได้ยากมาก เพราะทางญี่ปุ่นยังไม่ไว้ใจ ไม่ยอมให้ผลิตของใหม่เองแบบร้อยเปอร์เซนต์ สิ่งที่ทำได้คือเอาของที่เขาทำมาปรับนิดหน่อยให้เข้ากับผู้บริโภคคนไทย
      
       ถ้าทำตาม Voice Of Customer ก็หยุดผลิตไปนานแล้ว แต่เมื่อเริ่มสำรวจการตลาด พบว่าคนสมัยใหม่ เริ่มไม่อยู่กับครอบครัว แยกบ้านอยู่ มีบ้าน มีสตูดิโอ หรือมีคอนโดของตัวเอง บ้านเป็นบ้านขนาดเล็ก แต่ต้องดูดี ขณะที่ เมื่อก่อนห้องครัวจะไม่ค่อยโชว์ใคร แต่ปัจจุบันแทบจะใช้เป็นห้องรับแขก ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการตกแต่งห้องครัวใกล้เคียงกับห้องรับแขก ซึ่งไม่ใช่เฉพาะที่กรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ในต่างจังหวัดก็เช่นกัน เพราะฉะนั้น ตู้เย็น 1 ประตูจึงยังมีโอกาส เพราะตู้เย็น 2 ประตูใหญ่ไป แต่จะมียี่ห้อไหนที่สามารถทำตู้เย็น 1 ประตูให้มีสไตล์ดูดีและสร้างสถานะให้เขาได้
      
       สิ่งที่ทำคือการลงทุนครั้งใหญ่ โดยในปี 2550 มีการเปลี่ยนมือจับตู้เย็น ปี 2551 มีมือจับให้เลือกหลายสี เป็นยี่ห้อเดียวในขณะนั้น และในปี 2552 ผลิตรุ่น Curve ซึ่งออกมาดูดี และถือเป็นพระเอก แม้ว่าก่อนหน้านี้มียี่ห้ออื่นที่ทำออกมา ซึ่งดูสวยแต่ขายไม่ดีเพราะใช้ยาก แต่ตู้เย็นรุ่น Curve มีข้อดีมาก ด้านบนสามารถวางของได้และยังดูดีอยู่ ขณะที่ด้านล่างใช้เท้าเปิดได้ในกรณีที่มือไม่ว่าง และโดยรวมของตู้เย็นมีความสวยงาม นอกจากนี้ ไทยยังเป็นประเทศเดียวที่ต้องมีชั้นวาง Stand บนตู้เย็น จึงต้องการออกแบบชั้นวางให้ไปได้กับตัวตู้เย็น
      
       อีกกรณีหนึ่งคือ เมื่อออกรุ่น Curve ทำให้ตู้เย็นหนึ่งประตูหลายยี่ห้อได้ออกมาทำตลาดใหม่ จากตลาดเล็ก กลายเป็นตลาดใหญ่ ปัจจุบัน Curve เป็นตู้เย็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ผู้นำที่เต็มไปด้วยความศรัทธาย้ำว่า จากกรณีของ Curve ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อมีความเชื่อ สิ่งที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้กลับเป็นไปได้
      
       ไม่เพียงเท่านี้ Green Innovation หรือนวัตกรรมสีเขียวก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น มีการเปลี่ยนฉนวนกันความร้อน โดยไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของกฎเกณฑ์ทางการค้าใดๆ รวมทั้ง การได้รางวัล Demark ในประเทศไทย และ Trusted Brand ถึง 7 ปีซ้อนนับเป็นความภาคภูมิใจ
      
       ๐ แสงสว่างปลายอุโมงค์
      
       ขณะที่ ดีลเลอร์ก็สำคัญ จึงต้องสร้างดีลเลอร์ที่สร้างสรรค์และตามเราให้ทัน โตชิบาเป็นแบรนด์แรกๆ ที่เชื่อว่าเราทำธุรกิจให้ดีลเลอร์และเขาสามารถสร้างธุรกิจได้ โดยปกติ ช่องทางการขายใน Modern Trade ชอบสินค้าที่แมส คือซื้อง่ายขายคล่อง ไม่ชอบสินค้า Value added เพราะขายช้า โตชิบาจึงต้องเน้นไปที่ Traditional Trade ซึ่งช่องทางการขายเกินครึ่งของโตชิบาเป็นช่องทางนี้ โดยมีการฝึกอบรมต่างๆ เพื่อพัฒนาและยกระดับ
      
       ยกตัวอย่าง ดีลเลอร์ที่เชียงใหม่มีพิพิธภัณฑ์อยู่ตรงกลางร้าน ซึ่งในช่องทาง Modern Trade ไม่ยอมให้ทำแบบนี้แน่นอน นอกจากนี้ ในร้านของดีลเลอร์ทำโปรโมชั่นเดียวกันกับงานคอมมาร์ท ทำให้ลูกค้าได้โปรโมชั่นโดยไม่ต้องไปเบียดกันที่งานคอมมาร์ทและได้ฟังการ อธิบายได้อย่างสบายๆ ปัจจุบัน ช่องทางการขายแบบ Traditional Trade เป็นช่องทางการขายที่สำคัญในการวางขายสินค้าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คทั่วประเทศ และขายได้กำไรสูงสุด สร้างความยั่งยืน และอยู่ได้อย่างสง่างามให้กับดีลเลอร์
      
       “เราบอกเขาว่า สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นไม่ได้แปลว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้ เราพยายามไปคุยกับเขาหลายรอบ ดีลเลอร์ที่เป็นผู้ประกอบการรุ่นที่ 2 ซึ่งพ่อแม่สร้างธุรกิจขึ้นมาอย่างยากลำบาก เมื่อเห็นพ่อแม่ทำด้วยความเหน็ดเหนื่อย จึงไม่อยากทำ เราพยายามขอให้เขาทำต่อ ดีลเลอร์หลายรายทิ้งธุรกิจไปแล้ว จึงต้องทำให้เขาศรัทธากับธุรกิจ ศรัทธาว่าพ่อแม่ทำได้ ศรัทธาว่าลูกจ้างที่มีอยู่ทำให้เขาเจริญเติบโตได้ โตชิบาจึงออกแบบหลักสูตรพิเศษเฉพาะแต่ละดีลเลอร์ ไปสอน ไปอบรม 4 ปีแล้ว หลายคนที่มาฝึกอบรม กลับไปทำธุรกิจต่อ และขอบคุณเราว่าเขาได้พบว่าจริงๆ แล้วธุรกิจดีลเลอร์ของเขายังมีโอกาส”
      
       ในการจัดประชุมดีลเลอร์ทุกครั้ง โตชิบาจะคิดเสมอว่าจะทำอย่างไรให้ดูสร้างสรรค์ (creative) ไม่ได้คิดเฉพาะเรื่องให้นักร้องชื่อดังมาร้องเพลงแล้วจับรางวัล เพราะสุดท้ายต้องเสียเงินมากมายแต่ดีลเลอร์จำไม่ได้ เพราะทุกบริษัทจัดแบบนี้เหมือนกันหมด เช่น ครั้งหนึ่ง จัดงานที่หอศิลป์แห่งชาติ โดยเอาตู้เย็นไปวางให้ดูเป็นงานศิลป์ หรือพาไปปล่อยช้างที่ลำปาง ซึ่งกิจกรรมลักษณะนี้ใช้เงินน้อยกว่ามาก แต่ทำให้ลูกค้าประทับใจมาก เมื่อจบกิจกรรมกลับมาแล้วยังรักเราอยู่
      
       ส่วนการจัด Dealer trip เลือกพาเที่ยวในประเทศไทย ไม่เน้นการเที่ยวหรูหราที่เมืองนอก เพราะเชื่อมั่นว่าเที่ยวในไทยก็ทำให้หรูกว่าเมืองนอกได้ แต่ใช้เงินน้อยกว่า เช่น พาไปดำน้ำปลูกปะการัง หรือจัดกิจกรรมที่ลูกค้าอยากทำ แต่ไม่เคยทำ ครั้งหนึ่งพบว่าลูกค้าอยากเข้าป่า นอนเต้นท์ แต่ยังไม่ได้ทำสักทีเพราะกลัวความไม่สะดวกในเรื่องต่างๆ เช่น ห้องน้ำ จึงใช้งบประมาณ 2 ล้านให้กับฟาร์มโชคชัย ซึ่งมีบรรยากาศของป่าและมีสัตว์มากมาย ภายใน 3 เดือนมีเต๊นท์ติดแอร์เป็น Boutique Camping ที่น่ารักมาก
      
       “ในการทำงาน เราคิดว่าทำอย่างไรถึงจะได้ใจลูกค้า ทำอย่างไรให้เขาไม่ทิ้งธุรกิจ ให้เขามีความสร้างสรรค์ ให้เขามีความเข้มแข็งและสู้กับ Modern Trade ได้ ถามว่าจะอยู่แบบคนแก่หรือจะอยู่แบบคนหนุ่ม Young @ Heart จะเป็นบริษัทประเภทสไตล์เก่าแก่หรือพัฒนาตลอดเวลา”
      
       ๐ สร้างคน สร้างทีม  ดูแลสังคมอย่างมีกลยุทธ์
      
       ในด้านพนักงาน คนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะบริษัทเปรียบเหมือนเรือที่ต้องเปลี่ยนแปลง แต่จะทำอย่างไรให้ไปด้วยกัน โตชิบาไม่ใช่บริษัทที่ให้เงินเดือนสูงที่สุด แต่ได้ใจจากพนักงาน คนที่อยู่มาตลอดยังคงอยู่ต่อไป เพราะอยู่ด้วยใจ แต่เงินเดือนต้องไม่ต่ำเกินไป ขณะที่ โตชิบาเป็นบริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยี สิ่งที่ทำต้องเป็นเทคโนโลยีที่ทำ“เพื่อคน” ไม่ใช่ทำ“เพื่อกำไร” ต้องทำด้วยใจ แล้วสุดท้ายจะได้ใจจากพนักงาน คนที่อยู่เป็นจะมี Life Mission ว่าการอยู่เพื่อผู้อื่นเป็นสิ่งที่สำคัญ
      
       หลักคิดในเรื่อง “อิฐแดง” เมื่อเปรียบเทียบคนเป็นเหมือนก้อนอิฐ คิดว่าคนทุกคนเท่ากัน ทุกคนเท่ากับอิฐคนละก้อน ไม่มีใครมากกว่าหรือน้อยกว่า เพราะถือว่าทุกๆ ตำแหน่งมีเกียรติ ต้องทำให้รู้สึกว่าทุกหน้าที่สำคัญ ขาดอิฐก้อนใดก้อนหนึ่งไม่ได้ ที่นี่ไม่เชื่อเรื่องฮีโร่ แต่เชื่อเรื่องทีม เพื่อให้สร้างนวัตกรรขึ้นมาได้ ผู้บริหารจะต้องรู้จักบุคลากรทุกคน และวางเขาให้ถูก คือวางอิฐให้ถูกจุด วางคนให้ถูกตำแหน่ง
      
       ในเรื่อง “เจ้าชายน้อย” วรรณกรรมที่ทำให้คิดเสมอว่า ต้องมี”ความฝัน” เพราะถ้าเรารู้แค่ Voice Of Customer นั่นคือความรู้ แต่ถ้าไม่คิดฝันต่อไป ก็เป็นแค่ One Of Them จึงต้องสร้างให้คนในองค์กรมีความคิดสร้างสรรค์ ต้องทำให้มีจินตนาการ (Imagination), นวัตกรรมหรือการคิดริเริ่มใหม่ๆ (Innovation) และการสร้างสรรค์ (Creativity) เพราะฉะนั้น การคิดนอกกรอบ (Out of box thinking) และการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
      
       “เราเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น เชื่อในสิ่งที่อยู่หลังกำแพง แต่เมื่อเติบโตขึ้น ความรู้ที่ได้รับมาก็บล็อกเรามากขึ้นเรื่อยๆ เราไม่เชื่อในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น ดังนั้น ผู้นำอย่าเชื่อแค่สิ่งที่เกิดขึ้น ต้องทำให้ทุกคนในองค์กรเชื่อว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ เราต้องเชื่อก่อน ต้องศรัทธา ในเรื่องของคน ต้องให้โอกาส อย่าไปตราหน้าก่อน ไม่เช่นนั้นเขาก็ได้แค่นั้น เราค้นพบเขาแล้วหรือยัง ผู้บริหารต้องทำให้เขาค้นพบได้ด้วยตัวเอง”
      
       “เชื่อเสมอว่าประเทศไทยสามารถสร้างอะไรที่เป็นระดับโลกได้ เราต้องรู้จักการให้ คนที่ให้จะเป็นคนที่เต็ม ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต รู้จักที่จะเรียนรู้และสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง ต้องรู้จักสร้างนวัตกรรมด้วยคนของตนเอง มีการระดมความคิด การจัดกิจกรรมการตลาดไม่จ้างออร์แกไนเซนอร์ ไม่ใช่เพราะต้องการประหยัด แต่เราต้องการสร้างทีมงาน ซึ่งทำให้คนได้ค้นพบตัวเอง คนทุกแผนกต้องมาร่วมทำกิจกรรมกับเราทุกครั้ง ซึ่งทำให้เขาได้ค้นพบตัวเอง และเราก็ได้ค้นพบเขา ทุกเช้า โตชิบาจะมี Morning Speech ตอนแปดโมงเช้า ร้องเพลง และระลึกว่าเราอยู่เพื่อสังคม ไม่ใช่แค่ตัวเราหรือครอบครัว”
      
       สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) เธอเชื่อว่า เป็นสิ่งที่สามารถสร้างคนได้อย่างยั่งยืน แต่ต้องทำอย่างมีกลยุทธ์ อย่าทำอย่างสเปะสปะ ต้องมีแนวทางของตัวเองว่าจะทำอะไร ทำอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่ได้อยู่ที่เงินที่ใส่ แต่อยู่ที่คน ที่นี่ใช้เงินน้อยแต่ใช้คนมาก แล้วคนที่ทำจะได้กับตัวเอง ทำทั้งด้านศิลปะวัฒนธรรม การศึกษา กีฬา สิ่งแวดล้อม และโครงการในพระราชดำริ เช่น ไปทำที่คุกบางขวาง ซึ่งเป็นคุกของนักโทษตลอดชีวิตและนักโทษประหารเท่านั้น ให้ดีลเลอร์แจกทุนการศึกษแบบไม่มีเงื่อนไขให้กับนักเรียนที่ขาดแคลนทุน ทรัพย์ และในการทำทุกกิจกรรมต้องมีการปลูกต้นไม้ ปัจจุบันปลูกไปแล้ว 22,000 ต้น
      
       กอบกาญจน์ ผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์ทิ้งท้ายว่า การจะเริ่มสร้างเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์เชื่อว่าทำได้ โตชิบาไม่ได้เป็นองค์กรที่มีงบประมาณมากมาย ไม่ใช่องค์กรที่มีคนที่ดีที่สุด แต่ค่อยๆ ทำในสิ่งที่เชื่อ และสร้างขึ้นไป มันเหนื่อยแต่คุ้มค่า เพราะทำให้ยั่งยืน เมื่อสร้างคนขึ้นมา ต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาและทำอย่างมุ่งมั่นในศรัทธา

http://www.manager.co.th/asp-bin/PrintNews.aspx?NewsID=9530000141302

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สินค้าความคิดสร้างสรรค์ : Wel-B ผลไม้สดอบกรอบ ปฏิวัติขนมขบเคี้ยวไร้ไขมัน

Wel-B ผลไม้สดอบกรอบ ปฏิวัติขนมขบเคี้ยวไร้ไขมัน
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID=9530000147347

 กระแส สุขภาพมาแรง ทำให้ผู้บริหารหลายผลิตภัณฑ์ต้องปรับตัว มองสินค้าของตัวเองที่มีอยู่ว่าเข้ากระแสคนรักสุขภาพหรือไม่ ไม่เว้นแม้แต่ขนมขบเคี้ยว ยังต้องปรับตัวหันมาเลือกสรรวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติ ในขณะที่กรรมวิธีการผลิตก็ต้องไม่ก่อให้เกิดโรคภัย โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ที่หลายคนเชื่อว่าเกิดมาจากอาหารประเภททอดกรอบ
      
       ดังนั้นจากโจทย์ดังกล่าว ทำให้คนรุ่นใหม่เจ้าของธุรกิจรายหนึ่งจับกระแสดังกล่าวมาเป็นโจทย์ในการ สร้างขนมขบเคี้ยวพันธุ์ใหม่จากผลไม้สด พร้อมเพิ่มความกรอบด้วยระบบ Freeze Dry โดนใจลูกค้าทุกกลุ่ม

สตรอเบอรี่อบกรอบ
       นายณัฐวุฒิ เผ่าปรีชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท โจ-ลี่ แฟมิลี่ จำกัด เล่าว่า ตนเองเดิมทำงานที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปผักและผลไม้ ทำให้ได้เรียนรู้วิธีการถนอมอาหารเหล่านี้ในหลายรูปแบบ ตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ทำให้คิดที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านั้น มาสร้างผลิตภัณฑ์และแบรนด์ของตนเอง โดยมองเทรนด์ผู้บริโภคในปัจจุบันว่าห่วงใยสุขภาพกันมากขึ้น เพราะฉะนั้นหากจะผลิตสินค้าก็ต้องรู้ใจผู้บริโภคด้วยเช่นเดียวกัน

พีช อบกรอบ
       Wel-B ผลไม้อบกรอบเพื่อสุขภาพ อีกมิติของวงการขนมขบเคี้ยวไทย เกิดจากที่นายณัฐวุฒิ มองว่าขนมขบเคี้ยวในปัจจุบันเน้นการทอด ทำให้ต้องรับประทานน้ำมันลงไปในร่างกายประมาณ 30% ในขณะที่การทำให้ผลไม้กรอบด้วยวิธี Freeze Dry ที่เป็นการนำผลไม้สดมาแช่แข็งและนำเข้าเครื่อง Freeze Dry ซึ่งกรรมวิธีนี้จะยังคงรักษาวิตามินในผลไม้ และไม่มีน้ำมันที่เกิดจากการทอดอีกด้วย โดยอุณหภูมิที่ทำให้ผลไม้สด มีความกรอบได้นั้นจะใช้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 40% และไม่ใช้น้ำมัน

แอปริคอต อบกรอบ
       “การที่เราบริษัทฯ เลือกใช้กรรมวิธีแปรรูปผลไม้ด้วยวิธี Freeze Dry นั้น ถือเป็นวิธีถนอมอาหารที่ยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย เพราะที่ผ่านมาเทคโนโลยีนี้จะใช้ในวงการยา เช่น การเก็บรักษาวัคซีน และสมุนไพร แต่ในส่วนของอาหารยังไม่ค่อยมีคนนำมาใช้ จากราคาของเครื่อง Freeze Dry จะค่อนข้างแพง แต่เราเห็นโอกาสการเติบโตในธุรกิจนี้จึงยอมนำเข้าเครื่องจักรหลักล้านบาท เพื่อปฏิวัติวงการขนมขบเคี้ยวไทย”

รูปแบบบูธ Wel-B เมื่อไปออกงานแสดงสินค้า
       ผลไม้ 3 ชนิด ที่ถูกรับเลือกให้เป็นตัวนำร่องของแบรนด์ Wel-B คือ สตรอเบอรี่ พีช และแอปริคอต ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นผลไม้ที่คนไทยค่อนข้างหารับประทานยากและมีราคาแพง ทำให้ผลไม้ทั้ง 3 ชนิด ถูกนำมาลองตลาด ซึ่งถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ ได้รับการตอบรับดีจากผู้บริโภค
      
       “การที่เราเลือกผลไม้ทั้ง 3 ชนิด เพื่อต้องการให้คนไทยได้รับประทานผลไม้ที่ค่อนข้างหารับประทานยากในเมืองไทย และมีราคาแพง ซึ่งเรามุ่งเจาะตลาดเมืองไทยเป็นอันดับแรก เพราะเมื่อเราทำผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพคนไทยได้ ก็อยากให้คนไทยรับประทาน และรู้จักเทคโนโลยี Freeze Dry ให้มากขึ้น ซึ่งผู้ที่ชื่นชอบขนมอบกรอบ ก็น่าจะหันมาเลือกรับประทานขนมที่ผ่านกรรมวิธี Freeze Dry เพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำมันที่เกิดจากการทอด”

       ด้วยคุณสมบัติของผลไม้กรอบที่ผ่านการกรรมวิธีการผลิตด้วย ระบบ Freeze Dry ทำให้ผลไม้ทั้ง 3 ชนิดนี้ นอกจากจะรับประทานเป็นขนมขบเคี้ยวแล้ว ยังสามารถนำมารับประทานกับไอศกรีม โดยเฉพาะรสวานิลลา หรือรสผลไม้ที่ไม่มีนมผสม, รับประทานคู่กับชา, นำไปทำสมูตตี้ และรับประทานคู่กับคอนเฟล็ก เป็นต้น ที่ถือเป็นอีกทางเลือกให้การรับประทานผลไม้อบกรอบมีรสชาติมากขึ้น

Wel-B เปิดตัวผลไม้ 3 ชนิด
       สำหรับแผนธุรกิจในอนาคตทาง Wel-B คิดเจาะตลาดส่งออกไปยังประเทศต่างๆ แต่อาจปรับเปลี่ยนในเรื่องของชนิดผลไม้เป็นผลไม้ไทยๆ เช่น มะม่วง ทุเรียน รวมถึงการรับจ้างผลิต (OEM) เพราะมั่นใจในเรื่องมาตรฐานการผลิตของโรงงานที่กำลังจะได้มาตรฐาน GMP และ HACCP ทำให้คู่ค้าในต่างประเทศไว้วางใจในเรื่องคุณภาพสินค้าได้
      
       ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ Wel-B มีวางจำหน่ายที่ เซ็นทรัล ฟู๊ด ฮอล์ล, ท๊อปส์ มาร์เก็ตเพลส , ท๊อปส์ ซุปเปอร์, สยามพารากอน, ดิ เอ็มโพเรียม , เค วิลเลจ, พาราไดซ์ พาร์ค , วิลลา มาร์เก็ต, ฟู๊ดแลนด์ และร้านอาหารเพื่อสุขภาพ อาทิ เลมอนฟาร์ม,สยาม ดรัก ทุกสาขา ขายปลีกในราคากล่องละ 70 บาท หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. 03-4871-825-6 หรือ http://www.welbsnack.com

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ไม้แขวนเสื้อที่ใส่ความคิดสร้างสรรค์







ได้จาก FW mail ครับ  จากไม้แขวนเสื้อธรรมดา ทำให้ดูดีได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์

ปากกาวัดระยะ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สร้างด้วยความคิดสร้างสรรค์

ได้รับจาก FW Mail ครับ ดูจากภาพน่าจะปากกาวัดระยะใช้สำหรับเขียนแบบ


ผมคิดว่า นี่แหละ คือตัวอย่างนวัตกรรม คือการใช้ความคิดสร้างสรรค์มาทำสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้น